10เกณฑ์ตรวจสอบเพื่อบริหารจัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10 inventory indicators

10เกณฑ์ตรวจสอบเพื่อบริหารจัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

#10_InventoryIndicatorsForEffectiveInventoryManagement

———————-//——————-

🔸 งาน Inventory management
ไม่ได้หมายเพียงถึงการ “รับ+นับ+เก็บ+ควบคุม”
สินค้าเข้า แล้วนำขึ้น Rack เท่านั้น

แต่งาน “การบริหารจัดการสต็อก (Inventory Management)” ที่แท้จริงยังหมายถึง “การเห็น และเข้าใจ” ความเป็นไปต่าง ๆ ของสต๊อกสินค้าทั้งหมดในกิจการเพื่อให้ สต๊อกสินค้ามีคุณภาพที่ดีด้วย

🔸 คำว่า “สต๊อกสินค้ามีคุณถาพ”
มีความหมายแตกต่างจากคำว่า “สินค้ามีคุณภาพ

🌿 “สินค้ามีคุณภาพ” หมายถึง ตัวสินค้าที่กิจการผลิตหรือนำเข้ามาขายมีคุณภาพ (ซึ่งมีเกณฑ์ควบคุมโดยหน่วยงานตามมาตรฐานควบคุมต่าง ๆ)

🌿 แต่ “สต๊อกสินค้ามีคุณภาพ” หมายถึง สินค้าที่เก็บในคลังสินค้าเป็นรายการที่มีคุณภาพสามารถสร้างยอดขายได้ มาก หรือ น้อย หรือขายไม่ได้เลย เป็นสินค้าที่ยกเลิกผลิตการผลิตแล้ว หรือยัง แอ็คทีฟ อยู่ ฯลฯ
———————-//——————-

🔸 จำเป็นที่ Inventory Manager ต้องมีภาพของสินค้าแต่ละรายการอย่างครบถ้วนในทั้ง 10 เกณฑ์นี้ เพื่อสามารถบริหารจัดการ สต๊อกสินค้าได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

📌 1) ABC Analysis: เข้าใจความสามารถด้าน Performance ของสินค้า

รู้จักกันดีในชื่อ ABC Analysis คือการจัดกลุ่มรายการสินค้าตามลำดับของยอดขายเฉลี่ยของสินค้า

🔸 สิ่งที่ต้องคำนึงถึง และพึงระวังในการจะประเมินจับกลุ่มสินค้า ABC Analysis ประกอบด้วย

🌿 เกณฑ์ในการจัดลำดับที่ต้องแตกต่างกันตามหมวดหมู่ หรือประเภทของสินค้า

🌿 เกณฑ์ด้านเวลาที่ใช้ในการคำนวณ Average sales
** ต้องเป็นระยะเวลาที่ครอบคลุมเพียงพอในการวัด performance ของตัวสินค้าทั้งครบ (ไม่เอายอดขายช่วงจัดรายการไปเปรียบกับช่วงการขายในเวลาปกติ)

** ต้องปรับเวลาให้เป็นการวัดที่เท่ากัน (สินค้าบางรายการขายครบทั้งปี ขณะที่บางรายการขายเพียงครึ่งปี หรือบางรายการขายเพียง 1 ไตรมาศ)

📌 2) On hand Inventory: จำนวนวันที่ต้องใช้เพื่อขายสินที่มีอยู่จนหมด

📌 3) Slow moving analysis: วิเคราะห์ปริมาณสินค้าและมูลค่าสินค้าที่ขายช้า เช่น ขายครั้งสุดท้ายเมื่อ 30 วัน/ 60 วัน/ 90 วัน/ 1 ปี แล้วไม่มีการขายอีกเลย อีกเลย

📌 4) Aging Analysis: วิเคราะห์ปริมาณสินค้า และมูลค่าสินค้า ตามอายุของสต๊อกสินค้าที่รับเข้ามาตั้งแต่ครั้งสุดท้ายเป็นเวลากี่ เดือน / ปี แล้วมีมูลค่าเท่าไรบ้างในแต่ละช่วงของอายุสินค้า

📌 5) Shelf Life analysis: วิเคราะห์ปริมาณสินค้าและมูลค่าสินค้า ตามอายุสินค้าที่เปรียบเทียบกับวันหมดอายุของสินค้า แล้วมีปริมาณสินค้าในแต่ละช่วงอายุมาก-น้อย เท่าไหร่ (สินค้ายังมีอายุ 30 วัน / 60 วัน / 90 วัน / ฯลฯ)

📌 6) Discontinue Assortment Analysis: วิเคราะห์ปริมาณสินค้า และมูลค่าของสินค้าที่หยุดไลน์การผลิต หรือหยุดการนำเข้ามาแล้ว แต่ยังมีจำนวนสินค้าที่หน้าร้าน หรือคลังสินค้าอยู่มาก-น้อยเท่าไหร่

📌 7) Inventory Level = 0 / Inventory < 0: วิเคราะห์จำนวนรายการสินค้าที่มีสต๊อกติดลบ หรือมีประมาณเป็น 0 หากรายการสินค้าเหล่านี้ เป็นสินค้าในกลุ่ม A นั่นหมายความว่าสินค้าไม่พอขายแล้ว ต้องจัดการแก้ไขปัญหา

📌 8) Top 40 Highest Inventory Level (On Hand / Amount): วิเคราะห์มูลค่า Inventory ที่สูงที่สุด 40 รายการสินค้า

📌 9) Top 20 Highest Inventory By Group of Product: วิเคราะห์มูลค่า Inventory ที่สูงที่สุด 20 หมวดหมู่สินค้า

📌 10) Logistics Integration (On Time / Case Filled / Item filled): % การให้บริการส่งสินค้าของคู่ค้าแต่ละราย (ตรงเวลา / เต็มจำนวน)

หวังว่า Inventory manager ทุกท่านคงได้รับประโยชน์ และหากใครมีเกณฑ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้การบริหารจัดการ Inventory ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยแชร์ไว้ที่ Comment ได้เลยคร้บ

ความรู้ที่ท่านแบ่งปัน เป็นวิทยาทานที่ทำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้นครับ 🙂
——————-// —————–

#แชร์ได้_อาจารย์ชาติใจดี🙂

#ใครสนใจอยากรู้เรื่องใดเพิ่มก็Commentเข้ามานะครับ

#ร่วมกันสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน

——————-// —————–
Learn Excel With Pichart
Smart Excel for Better LIFE

2 thoughts on “10เกณฑ์ตรวจสอบเพื่อบริหารจัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *