เกณฑ์การวัด Inventory Level (KPI) วัดจากอะไร?

inventory analysis

📌 เกณฑ์การวัด Inventory Level (KPI) วัดจากอะไร?📌

Inventory ที่เหมาะสมคือเท่าไร?📌 คิดคำนวณมาจากไหน?

คุณ @Keasy Kay Comment ถามเข้ามา ผมขอเลือกคำถามมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังต่อนะครับ

คำถามเข้ามาว่า”อาจารย์มีคำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์สินค้ามั้ยคะ เช่นต้องนำข้อมูลกี่ปีมาวิเคราะห์ และใช้สูตรช่วยคำนวณ อยากขอความรู้บ้างค่ะ”

ผมเข้าใจว่าในคำถามนี้มี 2 คำถามย่อย

🌿 1) เกณฑ์ในการเปรียบเทียบปริมาณ Inventory ที่เหมาะสม ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง

🌿 2) ควรใช้สูตรใดช่วยในการคำนวณหมายเหตุ- ในการตอบคำถามนี้

ผมขอตอบในมิติของสินค้าที่ซื้อมาขายไปนะครับ ส่วนสินค้าประเภทอื่น ๆ ก็ ลองเอาไอเดียไปปรับ ประยุกต์ใช้ดูนะครับ- วันนี้พูดถึงภาพรวม และเกณฑ์ เรื่อง On Hand Inventory แต่ในการทำ Inventory Analysis ยังมีอีกหลายมุมมองที่จะเอามาคุยต่อไปเพื่อไม่ให้ยาวเกินไป วันนี้ขอตอบคำถามข้อ 1 ก่อนนะครับ (ข้อ 2 เรื่องการวิเคราะห์ Inventory ด้วย Excel เอาไว้ตอบวันหน้านะครับ)

—————//————–🔸

ตอบคำถามที่ 1 เกณฑ์ในการเปรียบเทียบปริมาณ Inventory ที่เหมาะสม ควรคำนึงถึงอะไรบ้างพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า KPI สำหรับประเมิน Inventory” คืออะไรบ้าง ต้องพิจารณาเรื่องใดบ้าง

🔸 ตอบว่า มี 2 เกณฑ์ คือ 1) On Hand Inventory 2) Inventory Amount

📍 ในความเห็นส่วนตัว ผมให้ความสำคัญกับเกณฑ์ด้าน On Hand Inventory เป็นอันดับแรก เพราะ ถ้า On Hand Inventory ต่ำ ก็ถือได้ว่า สุขภาพของ Inventory ของเรา สมบูรณ์ เกิดดอกออกผลดี หมุนเร็ว สร้างกำไรให้กับธุรกิจได้มาก

📍 แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า เราไม่สามารถสั่งสินค้าเข้ามาได้ไม่จำกัด เพราะสภาพคล่องทางการเงิน (Cash flow) ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วย จึงต้องมีการวางแผนตั้ง Target หรือ Budget ให้กับตัวเลขทั้งสองอย่างเหมาะสม เกณฑ์ที่ว่านี้สำหรับสินค้าที่ซื้อมาและขายไป ไม่ได้พิจารณาถึงภาพรวมของ Supply Chain ทั้งหมดนะครับ เพราะถ้ารวมเข้าไปด้วยก็จะมีเรื่อง Productivity / Availability / Reliability / Cost / etc.

📌 แล้วเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาประเมิน “คุณภาพสต๊อกที่เหมาะสม” (Healthy Inventory) ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง….ให้คิดถึงแพท (PAT) 1) P_erformance 2) A_ctivity 3) T_iming

🔸 1) Performance: แต่ละ SKU จะมี Inventory เยอะ / น้อย แค่ไหน ขึ้นกับยอดขาย หรือ”ผลงาน” ของแต่ละ SKU นั้น ๆ เอง Trend หรือ Average Sales เป็นตัวกำหนดว่าควรต้องมี Inventory เท่าไร ยอดขายนี้แหละที่ใช้ในการคำนวณ On Hand Inventoryแล้ว On Hand Inventory ที่เหมาะสมต้องเป็นเท่าไรตอบว่า…

  • ระดับแรกสุด “เรียกว่าดี” คือ ต้องน้อยกว่า Credit Term เพราะนั่นหมายถึง เราควรขายสินค้าที่สั่งเข้ามาหมด ก่อนถึงกำหนดชำระเงิน นั่นคือ ต้องสามารถเอารายได้จากการขายมาจ่ายต้นทุนสินค้าที่ซื้อมา และเก็บส่วนต่างที่เหลือเป็นกำไร
  • ระดับที่ 2 “เรียกว่าดีกว่า” คือ การสามารถมี On Hand Inventory “น้อยกว่า Credit Term หลายรอบ” เพราะนั่นคือจำนวนรอบของกำไรนั่นเองและ
  • ระดับที่ 3 “เรียกว่าที่ดีที่สุด คือ มี On Hand Inventory “เท่ากับ รอบการส่งสินค้า” เพราะนั่นแสดงว่า เราได้ทั้งกำไรหลายรอบ และยังส่งผลกระทบในทางที่ดีต่อ Cash Flow ด้วยสรุป Fast Moving ต้องมี On Hand Inventory ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (แต่ต้องไม่ต่ำจนมีสินค้าไม่พอ) และ Slow Moving ต้องมี On Hand Inventory ไม่เกิน Credit Term

🔸 2) Activity กิจกรรมส่งเสริมการขายซึ่งจะมีผลต่อปริมาณ Inventory ที่เพิ่มขึ้นจากปกติแต่เพราะยังไม่เกิดการขายแบบ Promotion Average Sales จึงยังไม่ปรับขึ้น ทำให้ On Hand Inventory ต้องเพิ่มขึ้นด้วย การจะตั้ง Target จึงต้องใส่ Factor นี้เข้าไปด้วย แต่จะเพิ่มเข้าไปมาก/น้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับประวัติการจัดรายการที่ต้องถูกนำมาวิเคราะห์ หา Standard CoEfficient ของการจัดรายการในแต่ละ Event ของสินค้าแต่ละหมวด ในแต่ละช่วงเวลา ด้วย (สินค้าแต่ละหมวดมีธรรมชาติการตอบสนองต่อ Activity ที่แตกต่างกัน)

🔸 3) Timingในการวัดประเมินความเหมาะสมของ On Hand Inventory ตัวเปรียบวัดที่ดี (benchmark) คือการเปรียบเทียบกับตัว SKU นั้นเอง แต่เปรียบเทียบกับ Period เวลาที่ต่างกัน ซึ่งมี 3 ลักษณะคือ

🌿1. Current Trend เป็นการเปรียบเทียบ On Hand Inventory ณ period นี้ กับ ค่าเฉลี่ยของ On Hand Inventory ก่อนหน้าในปีเดียวกัน กรณีนี้ ต้องคำนึกถึง Average On Hand Inventory ของช่วงเวลาที่ ยาวไม่น้อยกว่า 1 เดือน เพราะแต่ละช่วงเวลาของการขายสินค้าของแต่ละเดือนมียอดขายที่ไม่สม่ำเสมอกันทั้งเดือน ต้นเดือนและปลายเดือนขายได้มากกว่าสัปดาห์กลางเดือน ฉะนั้นต้องใช้ตัวแทนของยอดขายที่ครอบคลุมครบทุกช่วงเวลาของการขายของเดือน เพื่อให้ได้ Benchmark ที่เที่ยงตรงที่สุดวิธีนี้ เหมาะกับสินค้าที่เข้ามาใหม่ ยังไม่มียอดขายของปีที่ผ่านมา และการขายที่มีสถานการณ์ในการขายในแต่ละปีแตกต่างกันมาก ๆ เช่น ภาวะภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์ทางการเมื่องที่มีผลกระทบกัยยอดขายในแต่ละปี

🌿 2.YOY (Year On Year) เป็นการเปรียบเทียบกับ On Hand Inventory ของช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งหากสภาพวะการณ์ของตลาดไม่มีความผันผวนมาก ประกอบกับจำนวนการขยายตัวของสาขาไม่มาก การเปรียบเทียบกับ On Hand Inventory ของปีที่ผ่านมากก็เป็น Benchmark ที่ด

🌿 3. LFL หากกิจการมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้น การเปรียบเทียบแบบ YOY ก็ดูจะไม่เป็นการเหมาะสม เพราะในจำนวน SKU ทั้งหมดมีทั้งสินค้าที่ขายเร็ว และที่ขายช้า และสินค้าที่ขายช้าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ On Hand Inventory เพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นสินค้าที่ต้องมี “เพื่อความหลากหลาย” สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในการ “สามารถเลือก” สินค้าฉะนั้น Benchmark ที่ดี จึงควรเป็นการเปรียบแบบ Like for Like หรือ เรียกว่าการเปรียบแบบ 1:1 นั่นคือเปรียบเทียบเสมือนว่า ปีนี้มีสาขาเท่ากับปีที่ผ่านมา นั่นคือหักยอดของสาขาที่เปิดใหม่ (ทั้งในแง่ยอดขาย และยอดสต๊อก) ก็จะทำให้ Benchmark มีความเที่ยงตรงมากขึ้น เป็นการวัดความสามารถในการบริหารจัดการ Inventor ระหว่าง 2 ปี โดยการตัดตัวแปรที่จะมีผลกระทบหลักกับ On Hand Inventory ออกไป

——————-// —————–

🌿 วันนี้ ขอจบเท่านี้ก่อนนะครับ บทความครั้งต่อไปจะมาเล่าให้ฟังว่า สูตรและเมนู Excel ที่ใช้ในการวิเคราะห์ Inventory มีสูตร และเมนูอะไร พร้อมทั้งเทคนิคการออกแบบ Spreadsheet ให้เหมาะสมด้วย#อย่าลืมติดตามนะครับ

🌿 ใครสนใจอยากรู้เรื่องใดเพิ่มก็Commentเข้ามาได้นะครับ#ถ้าสนใจกันเยอะจะเอามาเล่าต่อครับ😇 อ่านแล้วอย่าลืมแชร์ แบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านด้วยนะครับ “ร่วมกันสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน” ครับ#แชร์ได้_อาจารย์ชาติใจดี🙂

——————-// —————–

Learn Excel With PichartSmart Excel for Better LIFE

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *