3 เหตุผลที่On hand Inventory fast moving ต่ำกว่า slow moving

inventory management

รู้ไหม Retail ควบคุมให้ On Hand Inventory ของสินค้า “ที่ขายเร็ว ต่ำกว่า สินค้าที่ขายช้า” ทำไม?

————————- 

“อาจารย์ครับ มันมีเหตุผลอะไร ❓

ทำไมห้างจึงไม่เก็บสต๊อกสินค้าพวกที่เป็น Fast Moving ไว้เยอะ ๆ แต่กลับควบคุม On Hand Inventory ให้ต่ำ ๆ ❓

แต่กับพวก Slow Moving กลับไม่พูดอะไร ❓

เขาน่าจะเก็บสต๊อกสินค้าที่ขายดีให้มีมาก ๆ เพื่อจะได้ขายเยอะ ๆ ไม่ใช่หรือครับ”

 

คุณไพโรจน์มาเรียน Excel กับผมหลายคอร์ส…

💡 วันนี้ทักเข้ามาขอความรู้เรื่อง Inventory Management เลยเอามาเขียนเล่าให้ Key Account และ Sales Manager ให้เข้าใจ ได้เห็นภาพในมุมมองของ Supply Manager ด้วยครับ จะได้เข้าใจกันและกัน 🙂

——————-// —————–

📌 3 เหตุผลที่ทำไม จึง Manage ให้ Fast Moving Items มี Inventory ต่ำ

ก่อนจะรู้ว่าทำไม…

มีหลักการพื้นฐานที่ต้องรู้ 3 ประการคือ

1) Inventory หรือ สต๊อกสินค้า ถือเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจที่สูงที่สุด

2) เงินทุนที่ใช้ซื้อสต๊อก มีผลกับ สภาพคล่อง (Cash Flow)

3) สต๊อกสินค้า “ด้อยค่า” ทันที ที่ซื้อเข้ามา

📌 คราวนี้ก็มาตอบคำถามกันว่า ทำไมต้อง กด On hand Inventory ของ Fast Moving ให้ต่ำ 🌆

1. ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น…อ้าว ยิ่งซื้อเยอะ ก็ต้องได้ราคาถูกลงไม่ใช่เหรอครับ? (แต่มันจะคุ้มไหม..ต้องลองเทียบกับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสต๊อกดูด้วย)

        ⚡️ Fast Moving เป็นสินค้าที่ขายเร็ว แปลว่าปริมาณการขายต่อวัน (ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน) สูง การมี On Hand Inventory สูง ๆ แปลว่า ต้องมีปริมาณสินค้าเก็บในคลังสินค้า Warehouse หรือ Storage (Back Room) เป็นจำนวนมาก

(ผมเคยสต๊อกสินค้าเป็นพันลัง เพื่อเก็บราคาพิเศษในช่วงจัดรายการไว้) การบริหารจัดการสต๊อกสินค้ามีต้นทุน (กระบวนการรับสินค้าเข้าคลังสินค้า ถูกคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนกล่องหรือลังสินค้า)

        ⚡️ ด่านแรกตั้งแต่รับจากห้องรับสินค้าลากไปยังชั้นเก็บ หรือส่งต่อขึ้นรถบรรทุกไปสาขาเลย ก็ถูกคิดเงิน

        ⚡️ แล้วถ้าต้องยกขึ้น Rack สินค้า ฝากเก็บไว้รอเบิก ก็จะถูกคิดค่าฝากเป็นรายกล่อง (หรือ พาเลท) เป็นรายวัน

        ⚡️แล้วเมื่อสาขาเบิกสินค้า ก็ต้องมีค่าย้ายสินค้าจาก Rack มาวางเพื่อรอ Load ขึ้นรถ ก็คิดเงินอีก

        ⚡️สุดท้าย ค่ารถขนส่งไปยังสาขาต่าง ๆ อีก นี่ยังไม่รวมกระบวนการจัดเก็บที่สาขา ย้ายสินค้าไปสินค้ามา หาที่เก็บไม่ได้เพราะมีจำนวนมาก…เยอะเรื่องจริง ๆ นี่คือเหตุผลข้อที่ 1 😤

2. สินค้าขายดี ขายเร็ว สามารถสั่งซื้อได้ถี่ ๆ อยู่แล้ว สั่งต้นอาทิตย์นี้ กลาง ๆ อาทิตย์สินค้าก็เข้ามาแล้ว ต้นอาทิตย์หน้าก็สั่งใหม่ได้อีก ไม่ติดเรื่อง minimum order อยู่แล้ว เพราะมีปริมาณมาก จะต้องแบกสต๊อกเข้ามาให้เยอะ ๆ แล้ว พนักงานต้องใช้เวลาเยอะแยะกับการจัดสต๊อก เกิด OT เกิดสินค้าแตกหักเสียหายอีก แล้วจะทำงานหนักขึ้นเพื่ออะไร

             💸 3. เงินทุกบาทที่มีในมือของ Finance ไม่เคยนอนที่สาขา ห้างจะเอาเงินเข้าธนาคารทุกวัน หรือจะเอาเงินไปลงทุนทันทีในวันรุ่งขึ้น นั่นคือกระแสเงินสดถูกเปลี่ยนเป็นดอกเบี้ย (รับ) ทันที หากซื้อสต๊อกไว้มาก ก็แปลว่า “กระแสเงินสดจม”

เงินที่จะไปปลูกเป็นดอกเบี้ยก็จะลดลง รายได้ก็จะลดลงด้วย นี่ยังไม่พูดถึง Credit Term สินค้าบางรายการสั่งเข้ามาเป็นล้านบาท หมุนขายสร้างกระแสเงินสด 3-4 รอบ สร้างกระแสเงิน 3-4 ล้าน ได้กำไรจากการขายเป็นล้าน แถมดอกเบี้ยเงินลงทุนที่กล่าวข้างต้นอีก แต่ยังไม่ถึง Due จ่ายเงินที่ต้องจ่ายเลย

ถ้าดองสต๊อกไว้นอกจากจะพลาดดอกเบี้ยเงินลงทุนแล้ว ยังต้องเสียค่าบริหารจัดการสต๊อกสินค้าอีก แล้วจะจอง-ดองสต๊อกสินค้าไว้ทำไมเยอะ ๆ

inventory management

——————-// —————–

🌿 วันนี้ พูดน้อย ๆ เท่านี้ก่อนนะครับ จริง ๆ แล้วยังมีเรื่องปลีกย่อยที่ทำให้แผนก Supply Manager หรือ Planning manager หรือ Replenishment team (ชื่อหลากหลายแล้วแต่บริษัท..ว่ากันไป) พยายามบริหารจัดการ “บีบ On Hand Inventory” ให้ต่ำเข้าไว้

🌿 ใครสนใจอยากรู้เพิ่มก็Commentเข้ามาได้นะครับ #ถ้าสนใจกันเยอะจะเอามาเล่าต่อครับ

🌿รู้อย่างนี้แล้วเราที่เป็น Sales อยากขายของให้ได้เยอะ ๆ #ต้องทำอย่างไรล่ะทีนี้ #จะเอาความรู้นี้ไปใช้อย่างไรให้ได้ยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น #อยากรู้ก็Commentเข้ามาได้นะครับ หวังว่าเรื่องนี้จะมีประโยชน์กับ Sales ทุกคน 😇

อ่านแล้วอย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านด้วยนะครับ บางทีมันอาจจะทำให้เพื่อยอดขายดีขึ้น ได้โบนัสแทนที่จะโดนให้ออกจากงานเพราะไม่มียอดขายก็เป็นได้นะครับ #แชร์ได้_อาจารย์ชาติใจดี 🙂

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *